สุจินตนา ประธานเปิดงาน ALL-IN นศ.สถาปัตย์ ลาดกระบัง จุดประกายพลังบวก คิดอย่างสร้างสรรค รู้จัก USER และ EXPERIENCE

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 16.00 น. คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล ประธาน JS​ Art​s Gallery ประธานมูลนิธิเก้า ยั่งยืน เป็นประธานเปิดงาน
“ALL IN Thesis Exhibition 3DBCD & IM 2024” นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมี ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผศ.ดร.อรรถเวศ บริรักษ์เลิศ อาจารย์ประธานหลักสูตร สาขาการออกแบบสนเทศ สามมิติ และสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมนักศึกษาและแขกผู้มีเกียรติร่วมเปิดงาน ณ craftstudiO ชั้น 5 โซน Atrium ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ จัดแสดงในระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายนนี้

คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล กล่าวว่า งาน ALL IN Thesis Exhibition 3DBCD & IM 2024 เป็นความคิดที่เจิดจรัส เป็นคําแนวใหม่ๆ ผสมกับความชอบของเด็กๆ ผสมกันออกมาเป็น Thesis  (วิทยานิพนธ์) ที่เรียกว่าเป็นวิทยานิพนธ์ ชีวิตจริงก็ได้ เพราะทุกคนเอาสิ่งที่ตัวเองชอบออกมา ซึ่งไม่เหมือนกับ วิทยานิพนธ์ สมัยโบราณ เราต้องอ่านหนังสือทั่วโลก เพื่อจะไม่ให้เหมือนแบบคนที่เคยทำวิทยานิพนธ์มาแล้ว เราถึงจะได้เป็นงานที่ลงตีพิมพ์

“วิทยานิพนธ์ ที่ดีจะต้องลงตีพิมพ์ จบปริญญาโทขึ้นไปหรือปริญญาเอก สมัยก่อนต้องได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลกถึงจะจบได้ แต่สมัยนี้ไม่มี แต่ตอนนี้เด็กๆ เพิ่งปริญญาตรี แล้วทำวิทยานิพนธ์ในลักษณะในสิ่งที่เขาชอบ ซึ่งเขาจะได้ค้นหาต่อไปในอนาคต ว่า จะได้ทำในสิ่งที่ชอบออกมาเป็นรูปธรรมอย่างไร และสิ่งที่ตอบโจทย์คือ เขาค้นหาตัวเองเจอ เขาก็จะค้นคนอื่นเจอ สำคัญถ้าค้นตัวเองเจอจริงๆ เขาจะได้มีพลังมากกับตัวเอง เพื่อจะไปหาคนอื่นที่มีพลังเช่นเขาได้”
คุณสุจินตนา กล่าวและย้ำว่า

สิ่งที่สําคัญ คือ ค้นหาตัวเองเจอเป็นบวก สิ่งที่เราหาคนอื่นเจออีกเป็นบวกบวก คือเป็นสองตัว แล้วถ้าเราหาว่าในโลกเขากําลังค้นหาอะไรอยู่ แล้วเป็นสิ่งที่เขากําลังค้นหาเราอยู่ นั่นก็เป็นเอ 3 ตัว เราก็จะได้อยู่ในท็อปเทนของโลก ฉะนั้น สิ่งที่เขาหา เอตัวเดียวใส่กับตัวเขา นั่นก็คือสิ่งที่หาตัวเองเจอก่อน แล้วเขาก็จะหาคนอื่นๆ เจอ เหมือนเช่นที่เขาอยากเป็น อันนี้เป็นสิ่งที่น้องๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก ดีไซเนอร์ หรืออยู่ในวงการของการทำดีไซน์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ซึ่งโลกตอนนี้มันเร็วมาก ต้องบอกว่าการดีไซน์นั้นไม่สําคัญเท่ากับการได้ใจความของการดีไซน์ เราสามารถดีไซน์อะไร ออกมาเลิศเลย แต่ไม่ตอบโจทย์มีมาก

เพราะฉะนั้น เราต้องหาสิ่งที่ตอบโจทย์กับชีวิตในปัจจุบันนี้ก็คือ การใช้เอไอ ซึ่งเป็นโลกใหม่ ซึ่งคนอย่างเราอายุ 60-70 ปี ก็ต้องเรียนรู้ว่าเอไอ คืออะไร และการพัฒนาเอไอ นั้นจะเป็นไปได้อย่างไร ในการพัฒนากําลังของชาติ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ในอนาคต ว่าโลกมันหมุนไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ขอฝากเด็กๆ ทุกคนไว้ เด็กๆที่มีความคิดเห็นที่เป็นโลกใหม่ ชี้นำอุตสาหกรรมได้เลย โดดเด่นออกมา คือ กระโดดออกมาเลย กล้าที่จะสู้กับสิ่งที่ไม่เคยมีในโลกใบนี้ มันถึงจะซื้อได้ USER EXPERIENCE จะเป็นแบบเก่าแต่ดัดแปลงใหม่ หรือเป็นความต้องการของผู้ใช้ ที่เขาจะบอกว่า สิ่งนั้นดี สิ่งนั้นไม่ดี หรือออกมาประเภทศาสตร์ อะไรแบบนั้น ดังนั้น สิ่งที่เด็กๆ ควรจะหา คือ ประสบการณ์ เข้าใจ USER EXPERIENCE ให้ได้ แล้วเขาจะชนะในการที่จะเข้าอุตสาหกรรม ชนะในความเป็นเลิศ ในสิ่งที่อยากทำ“คุณสุจินตนา กล่าว

ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่าหลักสูตรนี้ ถ้าเรียกง่ายๆ ก็คือ ใส่ใจในกระบวนการออกแบบ มากกว่าตัวผลลัพธ์ เพราะถ้าเรียนอินทีเรียดีไซน์ เรียนสถาปัตย์ เรียนโปรดักส์ดีไซน์ มันชัดเลย คุณต้องทําโปรดักต์ดีไซน์ก่อน แล้วเดี๋ยวไปว่ากันเรื่องอะไร เมื่อสักครูได้ทราบจากคุณสุจิตนา ว่าท่านเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ศิลปอุตสาหกรรมของเรามีสาขาแพคเกจจิ้ง ซึ่งรุ่งเรืองมากๆ ในยุคที่คนเริ่มใส่ใจว่า ตัวเปลือกมันสําคัญมากเท่าๆ กับข้างใน เราเรียกว่าเป็นศาสตร์ ที่เราก็ต้องยอมรับจริงๆว่าเราตามญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นไปไกลมาก

“วันนี้ แพคเกจจิ้ง อยากจะพูดเรื่องเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มากกว่าการถนอมไปแล้ว สังเกตว่าแบรนด์ดังๆ ต้องมีการปรับตัว
ก็เป็นที่มาว่าเราอยากจะมาแชร์ในพื้นที่ตรงนี้ด้วย ว่านี่คือ หนึ่งใน 21 หลักสูตรของคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง และขอแสดงความยินดีกับนศ.ทั้ง 25 คน ผู้ที่เทหมดหน้าตักในงาน ALL IN Thesis Exhibition 3DBCD &IM 2024 ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จ“ผศ.ดร.อันธิกา กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.อรรถเวศ บริรักษ์เลิศ อาจารย์ประธานหลักสูตร สาขาการออกแบบสนเทศ สามมิติ และสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่าสาขาฯ เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2553 ตอนนี้ก็ 10 กว่าปีได้แล้ว ต้องเรียกว่ามีการตั้งชื่อว่า หลักสูตร “การออกแบบประสบการณ์สําหรับสื่อบูรณาการ” ชื่อนี้ได้มาจากหนึ่งในคอนเซ็ปต์ หลักที่ใช้ได้การเรียนการสอน นั่นก็คือ เรื่องของเอ็กซ์พีเรียนซ์ อีโคโนมี (Experience Economy) ที่มอบประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค หรือว่าเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มีประสบการณ์ที่ดีก็ช่วยสร้างความทรงจําเช่นเดียวกัน ให้มันไปอยู่ในหัวใจของผู้คน ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรของเราตั้งขึ้นมา ขอฝากทุกท่านและนักศึกษาในการช่วยพัฒนาโดยการออกแบบ โดยเฉพาะกลุ่มของนักออกแบบประสบการณ์ ที่เรียกว่า เราเป็น personality คือ ว่าจบเกี่ยวกับเรื่อง Experience ตั้งแต่ปริญญาโทรปี 2014 ซึ่ง 10 ปีผ่านมามีคนมีเพื่อนเพิ่ม

เพราะฉะนั้น พวกเรา นักศึกษาศิษย์เก่าทั้งหลายก็จะเป็นคนที่ช่วยเผยแพร่แล้วเอาความรู้เหล่านี้ไปช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติต่อไป.